Telehealth:ระบบดูแลสุขภาพที่อยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อม

เมื่อวันก่อนไปเข้าฟังเกี่ยวกับเรื่อง Telehealth & rehabilitation for the long-term care

of people with chronic condition ได้ความรู้ใหม่ๆมาเพียบเลย เนื่องจากว่าสังคมอังกฤษในสมัยนี้

กำลังจะก้าวสู่ Aging population เหมือนที่ญี่ปุ่น และภายในไม่เกิน20 ข้างหน้า

ประเทศไทยบ้านเราก็กำลังจะตามมาติด..สังคมที่จะมีผู้สูงอายุเยอะกว่าวัยแรงงาน

เนื่องจากกว่าเรามีระบบการแพทย์ที่ดีขึ้น คนมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง

แต่การที่คนเรามีอายุยืนขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีสุขภาพที่ดีเสมอไป

ลองหลับตาแล้วนึกภาพตัวเองตอนอายุ 60-70 ปี ถ้าเราแข็งแรงดี มันก็โอเคอยู่หรอกนะ

แต่ถ้าเราเกิดป่วย ด้วยโรคหัวใจความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือว่าโรคเรื้อรังต่างๆหล่ะ..

เราจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างไร? บางคนอาจจะโชคดีที่มีลูกหลานดูแล

แต่ก็มีแนวโน้มว่าอีกหน่อยจะมีผู้สูงอายุที่โดดเดี่ยว ไม่มีคนดูแลอยู่อีกไม่ใช่น้อยๆ

ถึงแม้ผู้สูงอายุบางคนจะมีครอบครัวหรือลูกหลาน..ก็ไม่ได้หมายความว่าจะโชคดีมีลูกหลานดูแลกันทุกคน..

มีผู้สูงอายุอีกหลายๆคนที่ต้องอยู่เพียงลำพัง..

ยกตัวอย่างสถานการณ์ในประเทศอังกฤษตอนนี้ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมามีผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 85 ปี

จำนวนเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าและคาดประมาณว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ประมาณ 69% ของการจัดสรรงบประมาณในระบบสุขภาพในอนาคตจะต้องลงไปที่เรื่องของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับ Telehealth และ Telecare จึงเข้ามามีบทบาทเพื่อให้ผู้ที่ต้องการผู้ดูแลเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

ภายใต้ Concept ที่เรียกว่า QIPP

Q= Quality หมายถึง คุณภาพในแง่ความปลอดภัยของผู้ป่วย, ประสิทธิภาพการรักษา

I = Innovation คือการใช้กลวิธี หรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนเข้ามาสู่ระบบสุขภาพ

P= Productivity หมายถึง “Getting more for less” ได้ผลประโยชน์มากแต่ไม่ต้องจ่ายแพง..

P= Prevention หมายถึง การป้องกันการเกิดโรคในประชากรกลุ่มใหญ่ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วย long-term condition

สามารถที่จะดูแลตัวเองได้

ซึ่งแนวคิดนี้นำมาสู่การใช้เทคโนโลยีในการช่วยดูแลสุขภาพของคนทั้งระบบ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนผ่านจากที่คนไข้

ต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาลเป็น hospital base care ไปสู่ระบบ ที่เรียกว่า hospital and community based care

ซึ่ง Telehealth และ Telecare นั้นเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพในอังกฤษ เพื่อให้คนไข้

เข้าถึงบริการสุขภาพได้แม้ว่าตัวเองอยู่แต่ในบ้าน สร้างความรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในบริการ

คำว่า TELE เป็นคำภาษาละติน มีความหมายว่า “at the distance” หรือที่อยู่ห่างไกลกันออกไป..จริงๆแล้ว

ไม่ใช่คำใหม่เพราะเราใช้คำว่า Tele กันมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น TELEscope(กล้องสองทางไกล),

TELEvision(โทรทัศน์) หรือแม้แต่ TELEphone(โทรศัพท์) เมื่อนำคำว่า TELE เอามาใช้กับระบบสุขภาพ

จีงมี TELE ออกมาอีกมากมาย แต่ก็ยังหมายความถึงการดูแลสุขภาพที่ห่างไกลกันออกไป

ซึ่งจะเฉพาะเจาะลงไปในศัพท์แต่ละคำว่าดูแลในด้านไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น

  • Telehealth – การดูแลสุขภาพตนเองเป็น self care management ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

เช่น วัดความดันเลือดแล้วเครื่องมือจะส่ง ผลการวัดไปยังทีมแพทย์ เพื่อแนะนำการให้ยาหรือการควบคุมอาหาร เป็นต้น

  • Telecare – การดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยเทคโนโลยี ในการควบคุม กำกับ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไข้ โดยใช้ระบบ real time

  • Telemonitoring – การใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยที่ผู้ป่วย

ไม่ต้องเดินทางมาหาหมอที่โรงพยาบาล

  • mhealth – การใช้มือถือ หรือ mobile divice จำพวก PDA มาช่วยในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย
  • Teletriage – การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและอาการเจ็บป่วยทางโทรศัพท์ ซึ่งคำว่า “Triage” ในที่นี้หมายถึง sort out
  • Telecoaching – ย่อยลงมาจาก telehealth คือการ train เจ้าหน้าที่ผู้ดูและทางสุขภาพ ผ่านระบบเทคโนโลยีออนไลน์
  • ehealth – การให้ข้อมูลทางสุขภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
  • Telemedicine – ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ผ่านการสื่อสารทางไกล ระหว่างหมอกับคนไข้โดยตรง
  • Telerehabilitation- เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลมาช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เช่นการสอนทำกายภาพบำบัดออนไลน์ หรือผ่านเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

ซึ่งโดยภาพรวมแล้วการใช้ TELE- อะไรก็ตามที่เป็นเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นช่วยในการพัฒนาระบบสุขภาพหลักๆ

ได้ 5 ด้านด้วยกัน ก็คือ

  1. Clinical improvement – การรักษาพยาบาลและการเข้าถึงบริการสุขภาพดีขึ้น
  2. Quality of life benefit – คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เนื่องจากสามารถดูแลตัวเองและรับบริการจากที่บ้าน
  3. Cost saving – ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง การรอตรวจ เป็นต้น
  4. Productivity improvement – บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม
  5. Environmental benefit – ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าไม่ต้องใช้การเดินทาง เติมน้ำมัน หรือการขนส่งใดๆ

ถึงแม้ว่าบริการสุขภาพจะพยายามปรับเปลี่ยนให้ก้าวหน้าเข้าถึงได้ดีมากขึ้นแค่ไหน สิ่งสำคัญก็ยังอยู่ที่การดูแลสุขภาพ

ของตัวเองไม่ให้ป่วยในโรคที่เราป้องกันได้จะดีที่สุด..ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อโรคยา ปรมาลาภา”

“การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” นั่นเอง

ลองดูตัวอย่างเกี่ยวกับ Telehealth ที่คลิปนี้นะจ๊ะ

By lovelybluemoon เขียนใน Health

1 comments on “Telehealth:ระบบดูแลสุขภาพที่อยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อม

  1. Very interesting. I am trying to encourage our mph students to seriously consider of how to make use of IT in health care as well. Hope to see community-based surveillance of population, health, and disease program using IT
    initiated by our student in some districts of Thailand.

ใส่ความเห็น