เมื่อปัญญาแปรรูปเป็นทรัพย์สิน

ทรัพย์สินทางปัญญา..หรือ Intellectual Property เป็นคำที่ใช้กันมานานแล้วในสังคม

ตะวันตก…สำหรับบ้านเราก็ให้ความสำคัญกันมากขึ้น ตั้งแต่มีข่าวคราวเรื่องของการจด

ทะเบียนลิขสิทธิ์ข้าวหอมมะลิ ที่โดนทางหน่วยงานวิจัยพัฒนาพันธุ์ข้าวของอเมริกา

ศึกษาปรับปรุงทางพันธุกรรมภายใต้โครงการวิจัย Stepwise Program for

Improvement of Jasmine Rice for the United States ..ที่วิจัยจนได้พันธุ์ข้าว

ที่ใกล้เคียงกับข้าวหอมมะลิไทยและจะทำการจดทะเบียนเลยเป็นกระแสปลุกให้บ้านเรา

เริ่มตื่นตัวกันมากขึ้น..ก็ข้าวหอมมะลิต้นกำเนิดอยู่บ้านเราแท้ๆ อีกหน่อยถ้าประเทศใหญ่ๆ

อย่างอเมริกาผลิตได้เองแถมจดลิขสิทธิ์เป็นชื่อประเทศเค้าแล้วบ้านเราจะซื้อข้าวกินในราคา

เท่าไหร่?? ไหนจะเรื่องส่งออกอีก..อันนี้หลังจากเป็นกระแสอยู่ช่วงหนึ่งรัฐบาลออกมากระตือ

รือร้นอยู่พักนึงแล้วตอนนี้ก็เงียบหายไป..มีใครรู้บ้างว่าผลเป็นอย่างไร วานบอกกันนะจ๊ะ

แม้แต่กระทั่งรถตุ๊กตุ๊ก บ้านเราที่จัดว่าเป็นแท๊กซี่ยอดนิยมในดวงใจของนักท่องเที่ยว

อันดับที่ 5 ของโลก..ถูกใจฝรั่งจนเค้าเอาไปจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยบริษัท

MMW TUKTUK ประเทศอังกฤษ ที่นำเข้าเครื่องยนต์แล้วไปดัดแปลงประกอบเป็นรถตุ๊กๆ

ขายในราคาประมาณ 4 แสนบาทไทย..ลองเข้าไปดูกันเล่นๆ

ได้ที่เวป http://www.tuk-tuk.co.uk/ ที่น่าปวดใจคือเค้าเอาว่าตุ๊กตุ๊กไปใช้..บ้านเรา

ไหวตัวช้าไปหน่อยเลยจดทะเบียนรถตุ๊กตุ๊กบ้านเราชื่อว่า “รถไทยไชโย” ….

แต่ในทางกลับกัน..บ้านเราก็ใช่ย่อยมีสินค้าแบรนด์เนมที่ก๊อปปี้มาก็เยอะ หรือพวก

เทปผี ซีดีเถื่อนก็ติดอันดับต้นๆของโลกเหมือนกัน..หุหุหุ

ดังนั้นเรื่องของทรัพย์สินทางปัญญาจะว่าใกล้ตัวเราก็ใกล้ตัวนะ เป็นสิ่งที่เรา

เวลาที่มีการประดิษฐ์คิดค้นนวัตกรรมใหม่ๆ สิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ก็จะต้องมีการ

จดทะเบียนสิทธิ์บัตรเพื่อแสดงความเป็นเจ้าของสิ่งประดิษฐ์ชิ้นนั้นและป้องกันการหา

ประโยชน์เชิงธุรกิจจากคนภายนอก….ซึ่งประเภทของทรัพย์สินทางปัญญานั้น

ก็แบ่งประเภทออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ

1.สิทธิบัตร(Patent) เมื่อมีการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์หรือนวัตกรรมใหม่ๆอย่างเช่น รถบินได้

มอเตอร์ไซค์สะเทินน้ำสะเทินบก..หรือยาที่กินแล้วหน้าตาดี วิธีการผลิตใหม่ๆหรือกระบวน

การใหม่ๆที่ยังไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนบนโลกใบนี้..เราสามารถยื่นขอจดสิทธิบัตรเป็นของเราได้

โดยหากมีใครนำแนวคิดนี้ไปใช้ประโยชน์เชิงธุรกิจเราก็สามารถได้เงินจากธุรกิจนั้นได้ด้วย

แต่ที่สำคัญคือก่อนที่จะจดจะต้องทำการตรวจสอบก่อนว่ามีใครบนโลกใบนี้คิดหรือสร้าง

อะไรขึ้นมาเหมือนกันในเวลาเดียวกับเราหรือเปล่า ซึ่งสิทธบัตรนี้จะไม่เหมารวมแนวคิด

ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ หรือการค้นพบสิ่งมีชีวิตตามธรรมชาติคนแรก..เช่นไอส์สไตน์ ค้นพบ

ทฤษฏีสัมภันธภาพหรือว่า หรือเซอร์ไอแซคนิวตัน ค้นพบหลักของแรงโน้มถ่วง, หรือ

นาย ก. ค้นพบแมลงกุดจี่คนแรกของโลก..ก็ไม่สามารถจดสิทธิบัตรได้ สิทธิบัตรส่วนใหญ่

จะใช้กับเรื่องของสิ่งประดิษฐ์ หรือกรรมวิธีการผลิต เสียมากกว่า

2.เครื่องหมายการค้า(Trademark)..คือ เครื่องหมาย ข้อความหรือสัญลักษณ์ที่แสดง

ถึงสินค้าหรือบริการนั้นๆ ยกตัวอย่างสุดคลาสสิคคือ โคคาโคล่า..ต่อให้เรา

สามารถผลิตเครื่องดื่มสีดำอัดแก้สมีรสหวานได้ใกล้เคียงกับโคคาโคล่า..เราก็ไม่สามารถใช้

ชื่อโคคาโคล่าได้ ต้องจดทะเบียนเป็นชื่ออื่น…ซึ่งเครื่องหมายการค้าก็จะเหมารวมไปถึง

คำ ยี่ห้อ โลโก้ เสียง(เช่นเสียงขึ้นต้นเวลาร้องคาราโอเกะของแกรมมี่) กลิ่น หรือสัมผัส..

ได้หมด แต่ก็มีข้อจำกัดเหมือนกันในเรื่องของการใช้ชื่อ ถ้าสมมติว่าผลิตยามาตัวหนึ่ง แต่

ใช้ชื่อว่า Getwell หรือ Heatlhy ก็ไม่ได้เพราะมันจะทำให้ผู้ใช้ผลิตภัณฑ์ตีเจตนาของ

สินค้าชนิดนั้นผิดไป ทั้งนี้แต่ละประเทศก็มีข้อกำหนดเพิ่มเติมไม่เหมือนกันนะจ๊ะ

3.Design right (สิทธิ์การออกแบบ) อันนี้ไม่รู้แปลภาษาไทยถูกหรือเปล่า..แต่ยกตัวอย่าง

ก็จะเป็นพวก การออกแบบเครื่องประดับ ออกแบบรถยนต์ กระเป๋า เสื้อผ้า ลายผ้า เป็นต้น

สิทธิ์การออกแบบนี้จะมีทั้งแบบจดทะเบียน(มีอายุ 25ปี) แบบไม่จดทะเบียน(10ปี)

และลิขสิทธ์ทางอุตสาหกรรม (ตลอดช่วงอายุของคนออกแบบ+ไปอีก 70 ปี)

แต่โดยปกติแนวคิดหรือไอเดียที่เกิดขึ้นมาเมื่อสร้างหรือผลิตขึ้น

มาแล้วนั้นก็ถือว่าสิทธิ์ไอเดียนั้นเป็นของผู้ออกแบบอยู่แล้ว

4.ลิขสิทธิ์ (Copyright ) นั้นจะรวมไปถึงผลงานต่างๆ เช่น งานเขียน ภาพถ่าย ภาพวาด

เพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ งานออกแบบอาคารของสถาปนิก เพื่อป้องกันการลอกเลียน

แบบ การหาประโยชน์ทางธุรกิจเช่นกัน.. อันนี้ไม่จำเป็นต้นจดทะเบียนก็ได้เพราะลิขสิทธิ์

จะถือเป็นของบุคคลผู้นั้นตั้งแต่เค้าสร้างมันขึ้นมา..แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นหากเราไม่ระมัดระวัง

ก็งานของเราก็อาจจะถูกนำไปใช้โดยที่เราไม่ได้ประโยชน์หรืออาจถูกเอาไปแอบอ้างก็ได้

อย่างเช่นงานเขียนที่เขียนตามเวปไซค์ หรือฟอร์เวิร์ดเมลล์ต่างๆ แล้วนำไปแอบอ้างว่า

เป็นงานของตัวเอง หรือภาพถ่ายสวยๆที่เราถ่ายไว้แต่ไม่ได้ใส่เครดิตให้ตัวเอง

ก็อาจจะมีคนเอาภาพที่เราถ่ายไปใช้ประโยชน์ก็ได้..

แต่ยังไงก็ตามอะไรที่เกี่ยวข้องกับปรากฏการณ์ธรรมชาติ สิ่งมีชีวิต หรือการค้นพบ

ต่างๆ รวมถึงความคิด..ที่แค่คิดแต่ไม่ได้ทำอะไรเลยนั้นเราไม่สามารถถือว่า

เป็นทรัพย์สินทางปัญญาได้นะจ๊ะ

อยากรู้เพิ่มเติมเชิญไปที่

www.ipthailand.go.th

http://en.wikipedia.org/wiki/Intellectual_property

เศรษฐศาสตร์แบบแฮมเบอร์เกอร์ (big mac index)

Big mac เป็นเมนูสุดฮิตในตำนานของ Macdonale ที่จัดว่าเป็นอาหาร Fast food

คุ้มค่าคุ้มราคาของประเทศตะวันตก เจ้าบิ๊คแมคนี้ที่ถือกำเนิดขึ้นมาในปี 1967 โดย

คุณ Jim Delligatti เจ้าของร้านเฟรนส์ไชน์แมคโดนัลแถบๆเพนซิลเวเนีย..

เมนูที่มีเนื้อสองชิ้น,ซอส,กะหล่ำ,ชีส,หอมหัวใหญ่ โปะด้วยขนมปังก้อนกลมๆโรยงา

มีวางขายอยู่ทั่วโลกกว่า 120 ประเทศ แต่ละประเทศก็มีการปรับเปลี่ยนสูตรให้เหมาะกับ

การตลาดในประเทศนั้น อย่างเช่นบิ๊คแมคที่ขายที่อินเดียจะใช้เนื้อไก่แทนเนื้อวัว มีชื่อเรียก

ว่า “Maharaja Mac” ส่วนเนื้อที่ใช้ทำบิ๊คแมคในประเทศที่นับถือศาสนาอิสลามนั้นจะใช้

เนื้อ “Halal” หรือ “Kosher” ด้วยความที่ว่าเจ้าบิ๊คแมคเนี่ยมีขายไปทั่วโลก

คุณ Mark Cwzierdzinski นักเศรษฐศาสตร์ เลยเสนอไอเดียนี้ขึ้นมาว่ามันน่าจะใช้เป็น

หน่วยมาตรฐานในการเปรียบเทียบราคาตลาดระหว่างประเทศที่มีค่าเงินที่แตกต่างกัน

ภายในแนวคิดเรื่อง PPP (purchasing power parity) ที่เป็นดัชนีที่ทางธนาคารโลก

ใช้ในการเปรียบเทียบเศรษฐกิจระหว่างประเทศ แต่เจ้าบิ๊คแมคถูกยกขึ้นมาเป็นตัวอย่างเพื่อ

ให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น ตัวอย่างเช่นปี 2008 บิ๊คแมคที่อเมริกาขายอยู่ในราคา 3.57 ดอลล่าร์

แต่ที่อังกฤษขายอยู่ที่ราคา 2.29ปอนด์ ดังนั้นอัตราส่วนราคาที่ต่างกันต่อบิ๊คแมค

1 ชิ้น จะเท่ากับ 3.35/2.29 ปอนด์ คือ 1.56 ถ้าสมมุติว่าณเวลานั้น เงิน 1 ปอนด์ มีค่าเท่ากับ

2 ดอลล่าร์

ดังนั้น [(2.00-1.56)/1.56]*100= +28%

ก็จะแปลว่าค่าเงินปอนด์ของอังกฤษนั้นมีค่ามากกว่าเงินดอลล่าร์อยู่ 28%

ในรูปนี้เป็นการคำนวณโดยนักเศรษฐศาสตร์เมื่อเทียบ Big mac indexกับ

ค่าเงินดอลล่าร์ของประเทศอเมริกา ถ้ากราฟไปทางขวา + ก็แปลว่าค่าเงิน

ของประเทศนั้นมีค่ามากกว่าเงินดอลล่าร์อเมริกา แต่ถ้ากราฟไปทางซ้าย – ก็แปล

ในทางตรงข้ามคือค่าเงินของประเทศนั้นๆมีค่าน้อยกว่าเงินดอลล่าร์..

นอกจากบิ๊คแมคใช้เป็นตัวเปรียบเทียบยอดนิยมจนเกิดเป็นคำศัพท์ทางเศรษฐศาสตร์

ว่า Burgernomics แล้วเหล่าบรรดานักเศรษฐศาสตร์ช่างคิดก็ยังนำแนวคิดนี้

ไปใช้กับสินค้าอื่นๆที่มีขายอยู่ทั่วโลกเหมือนกัน อย่างเช่น กาแฟสตาร์บัค หรือ ไอพอด..

แต่ก็ยังมีข้อโต้แย้งอยู่เหมือนกันว่าเจ้าบิ๊คแมคเป็นตัวเปรียบเทียบที่ดีพอหรือเปล่า

เพราะหากมองในเชิงสังคม บิ๊คแมคอาจจะเป็นอาหารพื้นๆสำหรับชาวตะวันตก แต่สำหรับ

ประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศโลกที่สามเจ้าบิ๊คแมคก็ถือเป็นอาหารมื้อหรูๆเลยก็ว่าได้..

อยากรู้เพิ่มเติมเชิญอ่านต่อตาม link เอาเองนะจ๊ะ

http://en.wikipedia.org/wiki/Big_Mac_Index

http://en.wikipedia.org/wiki/Purchasing_power_parity

ลองคำนวณ big mac index ดูเล่นๆ

http://www.thebigmacindex.com/

เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย..ร้านแมคโดนัลที่มีคนใช้บริการเยอะที่สุดในโลกตั้งอยู่ที่

Pushkin Square, Moscow มีที่นั่งสำหรับลูกค้า 700 ที่ เครื่องแคชเชียร์ 27 เครื่อง

และเปิดให้บริการลูกค้า 40,000 คนต่อวัน..