Telecare

จากบทความที่เขียนเรื่องก่อนหน้านี้เกี่ยวกับ Telehealth

ตอนนี้เรามาลงรายละเอียดของ Telecare กัน

Steve hard ให้นิยามกว้างๆของ Telecare ว่า

“Telecare is the continuous, automatic and remote

monitoring of real-time emergencies and life style

change over time in order to manage the risk

associated with independent living”

Telecare เป็นการนำเทคโนโลยีการสื่อสารมาช่วยในการดูแล

สุขภาพผู้ป่วย ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยที่อยู่บ้านคนเดียวไม่มี

คนดูแล ยกตัวอย่างเช่น sensor ติดกับตัวผู้ป่วย stroke ที่จะส่ง

สัญญาณเตือนไปยังหน่วยบริการแพทย์ฉุกเฉินหากผู้ป่วยมีอาการ

stroke หรือล้มเนื่องจาก stroke เพื่อให้แพทย์มาดูแลได้ทันท่วงที

วัตถุประสงค์ของ telecare ไม่ได้ส่งการที่จะลด human contact

แต่ต้องการลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุ

ที่ต้องอยู่คนเดียวไม่มีผู้ดูแล และทำให้ผู้ป่วยรู้สึกมีความเป็นส่วนตัว

มากขึ้นแต่ก็รู้สึกปลอดภัยในเวลาเดียวกัน ว่าอยู่ในความดูแลของ

แพทย์

ตัวอย่างของ telecare ที่ช่วยในการดูแลผู้สูงอายุได้แก่

  • เครื่องตอบรับที่ประตูบ้าน (answering the door)
  • เครื่องช่วยจำทิศทาง (remembering direction)
  • การเข้าถึงข้อมูลข่าวสารต่างๆ (assessing information)
  • เครื่องช่วยการได้ยิน (aiding hearing problems)
  • เครื่องช่วยเตือนให้กินยา (remembering to take medication)
  • เครื่องควบคุมสิ่งแวดล้อมในบ้าน (control home environment)

ตัวอย่างเครื่องที่ช่วยในการตรวจจับและส่งสัญญาณเตือน

สำหรับบ้านที่มีผู้สูงอายุอยู่เพียงลำพัง

  • เครื่องปิดเตาแกสอัตโนมัติ (gas shut-off device)
  • เซนเซอร์ที่ติดกับเตียงนอน (bed/ chair occupancy sensor) เวลาผู้สูงอายุมีการเคลื่อนไหวออกจากเตียง หรือ ล้มอุปกรณ์ก็จะส่งสัญญาณแจ้งให้ทางศูนย์บริการสุขภาพทราบ, หรืออาจเป็นเซนเซอร์ที่เปิดไฟอัตโนมัติเมื่อผู้สูงอายุลุกจากเตียงเพื่อเข้าห้องน้ำตอนกลางดึก
  • เซนเซอร์ป้องกันการหกล้ม (fall sensor)
  • เซนเซอร์ที่ประตู หน้าต่าง (window-door sensor)
  • Carbon-monoxide sensors ที่ส่งเสียงร้องเตือนเวลาผู้สูงอายุลืมปิดแกส
  • เซนเซอร์เตือนผู้บุกรุก (intruder sensor)
  • ปุ่มกดส่งสัญญาณขอความช่วยเหลือ (panic button)
  • สัญญาณเตือนน้ำท่วม เตือนเวลาเวลาลืมปิดน้ำ (flood/water alarm)
  • เซนเซอร์เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (movement/non-movement sensor)

เยอะมากๆ แค่คิดเล่นๆว่าอีกหน่อยหากเราต้องเป็นผู้สูงอายุที่อยู่

เพียงลำพังในบ้าน..อุปกรณ์พวกนี้คงจะช่วยได้มาก ทำให้รู้สึกอุ่นใจ

เหมือนไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว 555+ เพราะจะกระดิกตัวไปไหน

จะทำอะไร ก็มีเซนเซอร์ไปซะหมดทั่วบ้านกันเลยทีเดียว

ลองมองในแง่ดีของเทคโนยี Telecare ก็มีประโยชน์มากในมุมมอง

ของผู้สูงอายุ ก็จะมีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น, รู้สึกมั่นใจและปลอดภัย

ช่วยรักษาสมดุลระหว่างผู้ดูแลและครอบครัว เพราะผู้สูงอายุจะสามารถ

อยู่ด้วยตัวเองที่บ้านได้, อยู่บ้านได้นานขึ้น และเมื่อมีเหตุฉุกเฉินก็มี

การตอบสนองจากศูนย์บริการได้ทันท่วงที

หากจะมองในมุมของผู้ให้บริการ Telecare ก็มีประโยชน์ในการที่จะ

ใช้ดูแลผู้ที่อยู่ห่างไกลออกไป และลดอัตราการครองเตียงใน

โรงพยาบาลได้เพราะว่าสามารถ discharge ผู้ป่วยให้กลับไปดูแล

ต่อที่บ้านได้เร็วขึ้น, ลดค่าใช้จ่ายและเวลาของเจ้าหน้าที่ที่จะต้องไป

ติดตาม (follow-up) ที่บ้าน

 

ลองดูตัวอย่างของ Telecare จากคลิปนี้ดู

By lovelybluemoon เขียนใน Health

Telehealth:ระบบดูแลสุขภาพที่อยู่ไกลเหมือนอยู่ใกล้แค่เอื้อม

เมื่อวันก่อนไปเข้าฟังเกี่ยวกับเรื่อง Telehealth & rehabilitation for the long-term care

of people with chronic condition ได้ความรู้ใหม่ๆมาเพียบเลย เนื่องจากว่าสังคมอังกฤษในสมัยนี้

กำลังจะก้าวสู่ Aging population เหมือนที่ญี่ปุ่น และภายในไม่เกิน20 ข้างหน้า

ประเทศไทยบ้านเราก็กำลังจะตามมาติด..สังคมที่จะมีผู้สูงอายุเยอะกว่าวัยแรงงาน

เนื่องจากกว่าเรามีระบบการแพทย์ที่ดีขึ้น คนมีอายุยืนยาวขึ้น อัตราการเกิดน้อยลง

แต่การที่คนเรามีอายุยืนขึ้นก็ไม่ได้หมายความว่าเราจะมีสุขภาพที่ดีเสมอไป

ลองหลับตาแล้วนึกภาพตัวเองตอนอายุ 60-70 ปี ถ้าเราแข็งแรงดี มันก็โอเคอยู่หรอกนะ

แต่ถ้าเราเกิดป่วย ด้วยโรคหัวใจความดันโลหิตสูง เบาหวาน หรือว่าโรคเรื้อรังต่างๆหล่ะ..

เราจะใช้ชีวิตบั้นปลายอย่างไร? บางคนอาจจะโชคดีที่มีลูกหลานดูแล

แต่ก็มีแนวโน้มว่าอีกหน่อยจะมีผู้สูงอายุที่โดดเดี่ยว ไม่มีคนดูแลอยู่อีกไม่ใช่น้อยๆ

ถึงแม้ผู้สูงอายุบางคนจะมีครอบครัวหรือลูกหลาน..ก็ไม่ได้หมายความว่าจะโชคดีมีลูกหลานดูแลกันทุกคน..

มีผู้สูงอายุอีกหลายๆคนที่ต้องอยู่เพียงลำพัง..

ยกตัวอย่างสถานการณ์ในประเทศอังกฤษตอนนี้ ในช่วง 25 ปีที่ผ่านมามีผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 85 ปี

จำนวนเพิ่มขึ้นถึงสองเท่าและคาดประมาณว่าจะมีจำนวนเพิ่มขึ้นอีกในอนาคต

ประมาณ 69% ของการจัดสรรงบประมาณในระบบสุขภาพในอนาคตจะต้องลงไปที่เรื่องของการดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรัง

ซึ่งแนวคิดเกี่ยวกับ Telehealth และ Telecare จึงเข้ามามีบทบาทเพื่อให้ผู้ที่ต้องการผู้ดูแลเข้าถึงระบบบริการสุขภาพ

ภายใต้ Concept ที่เรียกว่า QIPP

Q= Quality หมายถึง คุณภาพในแง่ความปลอดภัยของผู้ป่วย, ประสิทธิภาพการรักษา

I = Innovation คือการใช้กลวิธี หรือเทคโนโลยีใหม่ๆที่ไม่เคยมีการใช้มาก่อนเข้ามาสู่ระบบสุขภาพ

P= Productivity หมายถึง “Getting more for less” ได้ผลประโยชน์มากแต่ไม่ต้องจ่ายแพง..

P= Prevention หมายถึง การป้องกันการเกิดโรคในประชากรกลุ่มใหญ่ รวมทั้งสนับสนุนให้ผู้ป่วย long-term condition

สามารถที่จะดูแลตัวเองได้

ซึ่งแนวคิดนี้นำมาสู่การใช้เทคโนโลยีในการช่วยดูแลสุขภาพของคนทั้งระบบ ซึ่งจะมีการเปลี่ยนผ่านจากที่คนไข้

ต้องไปหาหมอที่โรงพยาบาลเป็น hospital base care ไปสู่ระบบ ที่เรียกว่า hospital and community based care

ซึ่ง Telehealth และ Telecare นั้นเป็นเทคโนโลยีหนึ่งที่จะสนับสนุนการพัฒนาระบบสุขภาพในอังกฤษ เพื่อให้คนไข้

เข้าถึงบริการสุขภาพได้แม้ว่าตัวเองอยู่แต่ในบ้าน สร้างความรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจในบริการ

คำว่า TELE เป็นคำภาษาละติน มีความหมายว่า “at the distance” หรือที่อยู่ห่างไกลกันออกไป..จริงๆแล้ว

ไม่ใช่คำใหม่เพราะเราใช้คำว่า Tele กันมานานแล้ว ยกตัวอย่างเช่น TELEscope(กล้องสองทางไกล),

TELEvision(โทรทัศน์) หรือแม้แต่ TELEphone(โทรศัพท์) เมื่อนำคำว่า TELE เอามาใช้กับระบบสุขภาพ

จีงมี TELE ออกมาอีกมากมาย แต่ก็ยังหมายความถึงการดูแลสุขภาพที่ห่างไกลกันออกไป

ซึ่งจะเฉพาะเจาะลงไปในศัพท์แต่ละคำว่าดูแลในด้านไหนบ้าง

ยกตัวอย่างเช่น

  • Telehealth – การดูแลสุขภาพตนเองเป็น self care management ผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์

เช่น วัดความดันเลือดแล้วเครื่องมือจะส่ง ผลการวัดไปยังทีมแพทย์ เพื่อแนะนำการให้ยาหรือการควบคุมอาหาร เป็นต้น

  • Telecare – การดูแลสุขภาพผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องโดยอาศัยเทคโนโลยี ในการควบคุม กำกับ

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมคนไข้ โดยใช้ระบบ real time

  • Telemonitoring – การใช้เทคโนโลยีในการควบคุมการรักษาผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด โดยที่ผู้ป่วย

ไม่ต้องเดินทางมาหาหมอที่โรงพยาบาล

  • mhealth – การใช้มือถือ หรือ mobile divice จำพวก PDA มาช่วยในการติดต่อสื่อสารกันระหว่างแพทย์กับผู้ป่วย
  • Teletriage – การให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพและอาการเจ็บป่วยทางโทรศัพท์ ซึ่งคำว่า “Triage” ในที่นี้หมายถึง sort out
  • Telecoaching – ย่อยลงมาจาก telehealth คือการ train เจ้าหน้าที่ผู้ดูและทางสุขภาพ ผ่านระบบเทคโนโลยีออนไลน์
  • ehealth – การให้ข้อมูลทางสุขภาพผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
  • Telemedicine – ใช้เทคโนโลยีการแพทย์ผ่านการสื่อสารทางไกล ระหว่างหมอกับคนไข้โดยตรง
  • Telerehabilitation- เป็นการใช้เทคโนโลยีสื่อสารทางไกลมาช่วยในการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย เช่นการสอนทำกายภาพบำบัดออนไลน์ หรือผ่านเครื่องมืออุปกรณ์สื่อสารที่ออกแบบมาโดยเฉพาะ

ซึ่งโดยภาพรวมแล้วการใช้ TELE- อะไรก็ตามที่เป็นเทคโนโลยีเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นช่วยในการพัฒนาระบบสุขภาพหลักๆ

ได้ 5 ด้านด้วยกัน ก็คือ

  1. Clinical improvement – การรักษาพยาบาลและการเข้าถึงบริการสุขภาพดีขึ้น
  2. Quality of life benefit – คุณภาพชีวิตของผู้ป่วยดีขึ้น เนื่องจากสามารถดูแลตัวเองและรับบริการจากที่บ้าน
  3. Cost saving – ประหยัดค่าใช้จ่าย ในการเดินทาง การรอตรวจ เป็นต้น
  4. Productivity improvement – บุคลากรทางการแพทย์สามารถทำงานดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้นในเวลาเท่าเดิม
  5. Environmental benefit – ดีต่อสิ่งแวดล้อม เพราะว่าไม่ต้องใช้การเดินทาง เติมน้ำมัน หรือการขนส่งใดๆ

ถึงแม้ว่าบริการสุขภาพจะพยายามปรับเปลี่ยนให้ก้าวหน้าเข้าถึงได้ดีมากขึ้นแค่ไหน สิ่งสำคัญก็ยังอยู่ที่การดูแลสุขภาพ

ของตัวเองไม่ให้ป่วยในโรคที่เราป้องกันได้จะดีที่สุด..ที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “อโรคยา ปรมาลาภา”

“การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” นั่นเอง

ลองดูตัวอย่างเกี่ยวกับ Telehealth ที่คลิปนี้นะจ๊ะ

By lovelybluemoon เขียนใน Health